การขุดดินและถมดิน ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย!
หลายคนที่กำลังสร้างบ้าน หรือปรับพื้นดินโดนการถมดิน ขุดดิน แต่ไม่ทราบว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ต้องคำนึงถึงบ้าง
พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 บังคับใช้ในท้องที่เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น บริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกาให้บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ซึ่งในปัจจุบันเขตผังเมืองรวมมีการประกาศใช้ทุกจังหวัด ทำให้พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดินใช้บังคับในทุกพื้นที่ นอกจากนั้นบางพื้นที่อาจมีกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือกฎหมายอื่นๆ กำหนดบริเวณห้ามขุดดินหรือถมดินบริเวณดังกล่าวไว้ ซึ่งการจะดำเนินการขุดดินหรือถมดินในพื้นที่บริเวณใดควรต้องศึกษาข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้นด้วย
การขุดดิน
มาตรา 17 ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน โดยมีความลึกจากระดับพื้นที่ดิน เกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้
- แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
- แผงผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
- รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 6
- วิธีการขุดดินและการขนดิน
- ระยะเวลาทำการขุดดิน
- ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
- ภาระผูกพันต่างๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ทำการขุด
- เอกสารและรายละเอียดอื่นๆที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในการขุด ถ้าพบโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้หยุดการขุดดิน แล้วรายงานเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ เพื่อแจ้งกรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณี (มาตรา 25)
มาตรา 23 การขุดบ่อน้ำใช้ ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกิน 4 ตารางเมตร ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มาตรา 24 การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่า 2 เท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดิน ตามวิสัยที่ควรกระทํา
มาตรา 25 ในการขุด ถ้าพบโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้หยุดการขุดดิน แล้วรายงานเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ เพื่อแจ้งกรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณี
การถมดิน
มาตรา 26 ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ใกล้เคียงและมีพื้นที่ของเนินดิน ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตรหรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อนให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคที่หนึ่ง ต้องไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร
การถมดินที่มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามวรรคหนึ่ง ต้องแจ้งการถมดินนั้น ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ถ้าผู้แจ้งได้ดําเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสามโดยถูกต้องแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกําหนดเพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นทําการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ได้ ตั้งแต่วันที่รับใบรับแจ้ง ให้นําบทบัญญัติมาตรา17 วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 22 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ระยะเวลาในการออกใบแจ้งขุดดิน ถมดิน
- ขั้นตอนในการตรวจสถานที่ขุดดิน ถมดิน ระยะเวลา 1 วัน
- ขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานต่างๆในการพิจารณารับแจ้ง ระยะเวลา 2 วัน
- ขั้นตอนในการตรวจสอบแบบแปลนต่างๆระยะเวลา 1 วัน
- ขั้นตอนในการออกใบรับแจ้ง ระยะเวลา 1 วัน
บทลงโทษ
- ขุดดินถมดิน โดยไม่ขออนุญาต/ไม่มีใบรับแจ้งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาท (ถ้าขุดในบริเวณห้ามขุด ห้ามถม) จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
- ขุดดินถมดิน ไม่เป็นไปตามกฎกระทรวง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับรายวันอีกวันละไม่เกิน 1,000 บาท
- ขุดดินโดยมีความลึกไม่เกิน 3 เมตร เมื่อขุดใกล้ที่ดินของผู้อื่นต้องจัดการการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรระทำ หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ผู้ใดได้รับคำสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้ได้รับคำสั่งจัดการป้องกันความเสียหายหรือจัดการแก้ไขการขุดกินหรือถมดิน ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ไม่ปฏฺิบัติตาม
จะเห็นได้ว่าในการถมหรือขุดดินนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก จึงจำเป็นต้องศึกษาระเบียบข้อกฏหมายตามกฎกระทรวงที่กำหนดมาให้เข้าใจก่อนที่จะทำการถมที่ดิน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อพิพาทต่อเพื่อนบ้านในอนาคตนั่นเอง
บริการรับเหมาถมที่ถมดิน ชลบุรี ระยอง และพื้นที่ใกล้เคียง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
065 359 3553 (คุณเท่)
093 395 9395 (ออฟฟิศ)
การขุดดินและถมดิน ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย!
พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543
การขุดดิน
- ขุดดินลึกเกิน 3 เมตร หรือพื้นที่ปากบ่อเกินกว่า 10,000 ตารางเมตร
- ปากบ่อดินมีระยะห่างถึงเขตที่ดินข้างเคียง ไม่เกิน 2 เท่าของความลึกเพราะการกระทำดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการพังทลายของดิน
- ต้องขออนุญาต จัดการป้องกันการพังทลายของดิน โดยต้องได้รับการรับรองจากวิศวกรเสียก่อน
การถมดิน
- มีการทำการถมดินสูงเกินกว่าที่ดินข้างเคียง โดยวัดจากด้านที่มีพื้นที่ต่ำสุดเป็นมาตรฐาน
- พื้นที่ที่มีมากกว่า 2,000 ตารางเมตร
- ดำเนินการตามที่เจ้าพนักงานกำหนด โดยต้องทำรางน้ำเพื่อนการระบายน้ำไม่ให้เดือดร้อนพื้นที่ใกล้เคียง